ผู้เขียน หัวข้อ: สอนสร้างแบรนด์: เทรนด์สินค้ามาแรง ไว้สร้างแบรนด์เองง่ายๆ จากธุรกิจ OEM  (อ่าน 157 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 367
    • ดูรายละเอียด
ก่อนหน้านี้หากใครคิดจะทำธุรกิจ อาจจะต้องอาศัยเงินจำนวนมากในการลงทุนทำให้สินค้าแต่ละกลุ่มมีจำนวนจำกัด และเห็นกันแต่  แบรนด์เดิมๆ แต่เมื่อยุคสมัยผ่านไปบวกกับไลฟ์สไตล์ของคนเปลี่ยนแปลง เช่น อยากมีกิจการส่วนตัว อยากมีอิสระทางการเงิน หรืออยากออกไปใช้ชีวิตตามความฝัน แต่ไม่สามารถทำได้ เพราะมีเงื่อนไขหลายอย่างตีกรอบเอาไว้ ทำให้ต้องอดทนใช้ชีวิตในรูปแบบเดิม แม้กระทั่งปัจจัยภายนอกที่เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนในปัจจุบัน ทำให้ผู้คนเข้าถึงและรับข้อมูลข่าวสารรวมถึงการสังเกตสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้อย่างง่ายดาย จึงทำให้ผู้คนต่างมีทางเลือกเป็นของตัวเองมากขึ้นเป็นเงาตามตัว


หากท่านใดกำลังมองหาทางเลือกในการเป็นเจ้าของธุรกิจของตัวเอง วันนี้จะพาทำความรู้จักกับการลงทุนอีกรูปแบบหนึ่ง ที่จะทำให้คุณเป็นเจ้าของธุรกิจได้ด้วยเงินลงทุนไม่มากเกินไปแถมมีแบรนด์เป็นของตนเอง นั่นคือธุรกิจ “OEM” นั่นเอง อีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคนที่มีไอเดียอยากลองทำแบรนด์สินค้าของตัวเอง แต่มีงบลงทุนจำกัด

 
OEM คืออะไร แตกต่างจาก ODM อย่างไร


OEM ย่อมาจาก Original Equipment Manufacturer คือ โรงงานที่รับออเดอร์พร้อมรายละเอียดสินค้าจากเจ้าของธุรกิจมาผลิต แล้วส่งกลับไปต้นทางเพื่อนำไปติดแบรนด์ของตัวเอง แตกต่างจาก ODM หรือ Original Design Manufacturer เพราะการผลิตแบบนี้ โรงงานจะเป็นผู้คิดค้น ทำวิจัย รวมไปถึงดำเนินการในทุกขั้นตอนของการผลิตสินค้าให้เจ้าของธุรกิจ แต่ใช้เงินลงทุนสูงกว่าการผลิตแบบ OEM


ข้อดี-ข้อเสียการลงทุน OEM
 

ข้อดี

    ช่วยลดต้นทุนการผลิต ใช้เงินลงทุนต่ำ
    ไม่ต้องมีโรงงานของตัวเอง ก็มีแหล่งผลิตสินค้าให้
    สามารถย้ายฐานการผลิตได้ง่าย
    ง่ายต่อการเปลี่ยนกลยุทธ์ทางธุรกิจ
    มีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาและดูแลการผลิต

ข้อเสีย

    เกิดสินค้าลอกเลียนแบบได้ง่าย
     

งบการลงทุนผลิตสินค้า OEM

การทำธุรกิจหลายคนอาจจะคิดว่าต้องใช้เงินลงทุนสูง แต่จริงๆ แล้วการเริ่มต้นทำธุรกิจกับผู้ประกอบการ OEM ใช้งบเริ่มต้นที่หลักหมื่น ดังที่กล่าวไปเบื้องต้นว่าโรงงานมีหน้าที่ช่วยผลิตสินค้า ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยลดต้นทุนการสร้างแบรนด์ไปได้มากทีเดียว ส่วนรายละเอียดค่าใช้จ่ายนั้นก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและข้อตกลงระหว่างเจ้าของธุรกิจกับโรงงาน


สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนจ้าง OEM

• ศึกษาตลาดสินค้าในเชิงลึก ได้แก่ แนวโน้มการบริโภคของกลุ่มลูกค้า คู่แข่งในตลาด การกำหนดราคา รวมถึงกรณีตัวอย่างการทำสินค้าประเภทนั้นๆ ไว้เป็นแนวทาง

• เตรียมแผนการตลาดล่วงหน้า เพื่อหาจุดขายและสร้างความโดดเด่นให้กับสินค้า พร้อมกับเจาะกลุ่มลูกค้าได้ตรงเป้าหมายมากที่สุด ทั้งตัวผลิตภัณฑ์ ราคา การบริการ ช่องทางการจัดจำหน่าย และการทำโปรโมชั่น

• ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตทั้งหมด ทั้งขั้นตอนการผลิต เผื่อเกิดปัญหาในระหว่างการผลิต จะได้เข้าใจและแก้ปัญหาได้ตรงจุด รวมถึงวัตถุดิบที่จะนำมาใช้ สำหรับวางคอนเซ็ปต์สินค้า และใช้คำนวณต้นทุนได้ง่ายขึ้น

• ตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับโรงงานที่ใช้ผลิต โดยเช็คจากเว็บไซต์กรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือคัดเลือกจากโรงงานที่เป็นสมาชิกของสภา​อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นโรงงานที่เปิดดำเนินการอยู่จริง มีการการันตีมาตรฐานการผลิตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ มาตรฐาน GMP มาตรฐาน HACCP และมาตรฐาน ISO 

หลังจากตัดสินใจเลือกโรงงานได้แล้ว ก่อนการผลิตควรมีสัญญาว่าจ้างที่รัดกุม ครอบคลุม และตรวจสอบให้ดี หากมีข้อสงสัยให้สอบถามทันที โดยเฉพาะความลับเรื่องของส่วนผสมและขั้นตอนการผลิต เพื่อป้องกันข้อมูลรั่วไหลและผลประโยชน์ทางธุรกิจของตัวเอง


8 เทรนด์สินค้ามาแรง 

1. ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง

กลุ่มสินค้าด้านความงาม ได้แก่ ลิปสติก ครีมกันแดด ครีมบำรุงผิว เพราะเป็นเรื่องที่คนให้ความสนใจกันทุกเพศทุกวัย ทำให้มีกลุ่มลูกค้าที่หลากหลายมากขึ้น แถมในประเทศไทยยังมีโรงงาน OEM รับผลิตมากมาย อีกทั้งยังมีแนวโน้มการเติบโตที่ดีขึ้นจากปี 2020 สามารถเจาะตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศได้เลย

 
2. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

จากการสำรวจของ สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต พบว่าหลังการระบาดของเชื้อโควิด 19 ส่งผลให้คนไทย 45.39% ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้นกัน และทำให้ร่างกายแข็งแรง เป็นส่วนสำคัญที่ส่งผลให้ตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมีแนวโน้มการขยายตัวที่ทีดี และเติบโตอย่างต่อเนื่องเฉลี่ย 10% ต่อปี ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา   

 
3. ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิค

อีกหนึ่งกลุ่มสินค้าที่ได้รับอานิสงส์จากเทรนด์รักสุขภาพ โดยเฉพาะสินค้าทดแทนเนื้อสัตว์ที่เรียกว่า Plant Based Meat เนื้อสัตว์สังเคราะห์ที่ผลิตจากพืช แต่ให้กลิ่น สัมผัส และรสชาติเหมือนเนื้อสัตว์จริง ๆ และยังได้รับสารอาหารครบถ้วน

 
4. อาหารและเครื่องดื่ม

ส่วนสินค้ากลุ่มอาหารและเครื่องดื่มที่น่าจับตามอง นอกจากพวกผลิตภัณฑ์ออร์แกนิค หรือผลผลิตจากการเกษตรแบบไร้สารเคมีที่กล่าวไปข้างต้น ยังมีกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มสุขภาพ เน้นสารอาหารที่มีประโยชน์กับร่างกาย เช่น ลดน้ำตาล เน้นสารโปรตีน มีฉลากให้ข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุดิบไว้ครบถ้วน รวมไปถึงสินค้าประเภท Meal Kits หรือชุดวัตถุดิบให้ผู้บริโภคนำไปประกอบอาหารเองที่บ้าน
 

5. สินค้าแฟชั่นและไลฟ์สไตล์

กลุ่มผลิตภัณฑ์ขายดีตลอดกาล โดยเฉพาะเสื้อผ้าตามแฟชั่นและโอกาสต่างๆ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงไปตามเทรนด์ทุกปี ทั้งกระแสที่มาจากเหล่าเซเลบ-คนดัง ไม่ว่าจะเป็นนักร้อง ศิลปิน ดีไซเนอร์ รวมถึงแบรนด์ดังต่าง ๆ
 

6. เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน

หนึ่งในเทรนด์สินค้าที่มาแรงไม่แพ้กัน โดยเฉพาะช่วงกักตัวและเน้นการทำงานที่บ้านหรือ Work From Home เพื่อช่วยรักษาระยะห่างและลดการแพร่กระจายของเชื้อโควิด 19 ส่วนกลุ่มเฟอร์นิเจอร์ที่ได้รับความนิยม ได้แก่ ของแต่งบ้านหรืออุปกรณ์สำหรับจัดเก็บของ ช่วยประหยัดพื้นที่ใช้สอย ดีไซน์สวย และมีราคาที่เหมาะสม
 

7. ผลิตภัณฑ์ทําความสะอาด

ไม่ใช่แค่เพียงกลุ่มผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดบ้านอย่าง น้ำยาทำความสะอาดพื้นผิว น้ำยาซักผ้าช่วยกำจัดเชื้อโรค และอุปกรณ์เสริมเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงกลุ่มสินค้าผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคอเนกประสงค์ และทําความสะอาดร่างกาย เพื่อสุขภาพที่ดี ตอบรับวิถีชีวิตแบบ New Normal

 
8. บรรจุภัณฑ์และการพิมพ์

ในเวลานี้บรรจุภัณฑ์สินค้า (Packaging Design) ก็มีส่วนสำคัญต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค กลุ่มที่มาแรง ได้แก่ บรรจุภัณฑ์สินค้าและเครื่องดื่ม บรรจุภัณฑ์สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ เป็นต้น

 

สอนสร้างแบรนด์: เทรนด์สินค้ามาแรง ไว้สร้างแบรนด์เองง่ายๆ จากธุรกิจ OEM อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://businesssmarttools.com/

 

โพสต์ฟรี ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี google ลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ประกาศฟรี ขายฟรี ขายรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ สถานที่ท่องเที่ยว เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google